วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบทดสอบ

แบบทดสอบเรื่องสมบัติของธาตุและสารประกอบ          อ่านเพิ่มเติม
เฉลยแบบทดสอบ          อ่านเพิ่มเติม

ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

1.ธาตุอะลูมิเนียม-->อะลูมิเนียม (Al) พบมากในเปลือกโลกประมาณ 7.5% โดยมวล ในรูปของสารประกอบ
2.ธาตุแคลเซียม-->พบในเปลือกโลกประมาณ 5.4% โดยมวล พบในรูปของสารประกอบที่มี CaCO 3 เป็นองค์ประกอบ
3.ธาตุทองแดง--> ทองแดงเป็นโลหะชนิดแรกๆ ที่มนุษย์รู้จักและนำมาใช้งาน จากหลักฐานพบว่า มนุษย์รู้จัก การถลุงทองแดงขึ้นมา ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แม้ว่าทองแดงจะมีปริมาณน้อยมาก ในเปลือกโลก (เพียง 0.0001%) เมื่อเทียบกับโลหะอื่นอย่างเ   อ่านเพิ่มเติม


SiliconCroda.jpg

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ   การศึกษาสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ จะช่วยในการทำนายสมบัติของธาตุได้ ถ้ารู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุหรือถ้ารู้สมบัติบางประการของธาตุอาจพิจารณาตำแหน่งของธาตุได้ ดังตัวอย่างการจัดตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนที่ศึกษามาแล้ว ต่อไปนักเรียนจะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติของธาตุมาทำนายตำแหน่งของธาตุ
แนวคิด จากสมบัติต่าง ๆ ของธาตุ X สามารถทำนายได้ว่า
- ธาตุ X มีสมบัติคล้ายโลหะคือ มีผิวเป็นมันวาว นำไฟฟ้าได้ และไม่ละลายน้ำ ธาตุ X ไ   อ่านเพิ่มเติม

ธาตุกัมมันตรังสี

ธาตุกัมมันตรังสี คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี้ 1.รังสีเอ็กซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895 2.ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
3.พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังไ   อ่านเพิ่มเติม

ธาตุกึ่งโลหะ

ธาตุกึ่งโลหะ (อังกฤษ: metalloids) เป็นธาตุที่มีองค์ประกอบทางเคมีซึ่งมีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างสมบัติของโลหะกับอโลหะ โดยไม่มีการกำหนดมาตรฐานหรือข้อตกลงที่แน่นอนของการเป็นธาตุกึ่งโลหะ
โดยปกติทั่วไปแล้วธาตุกึ่งโลหะ ประกอบด้วย 6 ธาตุ คือ โบรอน, ซิลิคอน, เจอร์เมเนียม, สารหนู, พลวงและเทลลูเรียม แต่บางครั้งการจำแนกธาตุกึ่งโลหะได้รวม คาร์บอน, อะลูมิเนียม, ซีลีเนียม,พอโลเนียมและแอสทาทีนไว้ด้วย ในตารางธาตุทั่วไปนั้นสามารถพบธาตุกึ่งโลหะได้ที่บริเวณเส้นทแยงมุมของ บล็อก-p โดยเริ่มจากโบรอนไ   อ่านเพิ่มเติม


สมบัติของธาตุแทรนซิชัน

ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติคล้ายคลึงกันทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง  ซึ่งทุกธาตุต่างเป็นพวกโลหะ  แต่มีความแตกต่างจากโลหะหมู่  IA  และหมู่  IIA  หลายประการดังนี้
1. ธาตุแทรนซิชัน  เป็นโลหะซึ่งส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลว  จุดเดือด  และความหนาแน่นสูง
2. เวเลนต์อิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิชันในคาบที่  4  เท่ากับ  2  ยกเว้นโครเมียม  กับทองแดง  ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ  1
3. อิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามานับจากระดับพลังงานของเวเลนซ์อิเล็กตรอน  ส่วนใหญ่มีจำนวนไ   อ่านเพิ่มเติม


ธาตุแทรนซิชัน

       ธาตุแทรนซิชัน (transition  element)  หมายถึง  ธาตุหมู่ B  ที่อยู่ระหว่างหมู่ธาตุ  IIA และ  IIIA  โดยธาตุแทรนซิชันมีอิเล็กตรอนบรรจุใน  d หรือ  f-ออร์บิทัลไม่เต็ม  ได้แก่ ธาตุ d  และกลุ่ม  f  ในตารางธาตุ  ธาตุแทรนซิชันมีการแบ่งเป็นหมู่ได้  8  หมู่เช่นเดียวกันธาตุ A เริ่มจากหมู่  IIIB,  IVB,  VB, VIB, VIIB, VIIIB, IB และ  IIB ธาตุหมู่  IIB  (Zn, Cd, Hg) มีอิเล็กตรอนบรรจุเต็มใ   อ่านเพิ่มเติม


ตำแหน่งไฮโดรเจนในตารางธาตุ

       การจัดธาตุให้อยู่ในหมู่ต่าง ๆ ในตารางธาตุจะใช้สมบัติที่คล้ายกันเป็นเกณฑ์ สำหรับตารางธาตุปัจจุบันได้จัดไฮโดรเจนไว้ในคาบที่ 1  ระหว่างหมู่ IA  กับหมู่ VIIA  เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้
1.  มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 1  และมีเลขออกซิเดชัน +1  ไฮโดรเจนจึงควรอยู่ในคาบ 1  หมู่ IA
2.  มีสมบัติคล้ายธาตุหมู่ VIIA  คือ  มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า  มีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง  ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง  สถ   อ่านเพิ่มเติม


ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA

       ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุแฮโลเจน(halogen) มี 5 ธาตุ คือ ฟลูออรีน(F) คลอรีน(Cl) โบรมีน (Br)ไอโอดีน (I) และแอสทาทีน (At)สมบัติที่สำคัญของธาตุหมู่ VIIA มีดังนี้
1. เป็นธาตุโมเลกุลอะตอมคู่ (diatomic molecule) ทุกธาตุ
2. ที่อุณหภูมิห้องธาตุในหมู่นี้จะมี 3 สถานะและเป็นพิษ
- F2เป็นแก๊สสีเหลืองอ่อน
- Cl2เป็นแก๊สสีเขียวอ่อน มีกลิ่นฉุนแสบจมูก
- Br2 เป็นของเหลวสีน้ำตาลแก่ มีความดันไอสูง ร   อ่านเพิ่มเติม


ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA และ IIA

        นักเรียนทราบมาแล้วว่าธาตุหมู่ IA  และ IIA  เป็นโลหะ เมื่อทำปฏิกิริยากับอโลหะแล้วจะเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกเป็นส่วนใหญ่ ในตอนนี้นักเรียนจะได้ศึกษาเพิ่มเติมอีกว่าโลหะหมู่ IA และ IIA เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำจะเกิดปฏิกิริยาได้ช้าหรือเร็วแตกต่างกันหรือไม่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีสมบัติเป็นอย่างไรจากการทดลองต่อไปนี้
การทดลอง 3.1  ปฏิกิริยาของโซเดียมและแมกนีเซียมกับน้ำ
          1.  ใส่สารละลาย  HCl 0.1 mol/dm^3และสารละลาย  NaOH  0.1 mol/dm^3ลงในหลอดทดลองขนาดเล็กหลอดละ 1cm^3หยดฟีนอล์ทาลีนลงในหลอดทดลองทั้งสอง หลอดละ 2 หยด สังเกตสีของสารละลายและเก็บสารละลายไว้เพื่อใช้เปรียบเทียบกับสีของสารละลายที่เกิดขึ้นในการทดลองต่อไป
          2.  ใส่น้ำกลั่นลงในบีกเกอร์ข   อ่านเพิ่มเติม


วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ

       จากการศึกษาสมบัติต่างๆ ของธาตุในตารางธาตุ เช่น ขนาดอะตอม พลังงานไอออไนเซชัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี จะพบว่าสมบัติเหล่านี้มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากซ้ายไปขวาในแต่ละคาบ หรือจากบนลงล่างในแต่ละหมู่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ต่อไปจะศึกษาสมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร โดยการศึกษาจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความเป็นกรด - เบสของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3 จ   อ่านเพิ่มเติม